ศิลปะของภาพถ่าย

ศิลปะของภาพถ่าย
ศิลปะภาพถ่ายถือกำเนิดในทวีปยุโรป เช่นเดียวกับศิลปะแขนงอื่น ๆ และนับตั้งแต่เริ่มวิวัฒนาการก็มีคำถามเกิดขึ้นอยู่เสมอว่า ภาพถ่ายเป็นศิลปะจริงหรือไม่

เมื่อ การถ่ายภาพเกิดขึ้นใหม่ ๆ การยอมรับว่าภาพถ่ายเป็นงานศิลปะประเภทหนึ่ง เพราะภาพถ่ายต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์มาก การยอมรับว่าภาพถ่ายเป็นศิลปะนั้นก็เป็นมุมแคบ สืบเนื่องมาจากความไม่เข้าใจศิลปะของภาพถ่ายอย่างแท้จริง

ภาพ ถ่ายเป็นศิลปะที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่แตกต่างจากศิลปะแขนงอื่น ๆ หลายประการ และลักษณะพิเศษของภาพถ่ายนี้เองที่ทำให้คนทั่วไปเกิดความสงสัยว่าภาพถ่าย เป็นงานศิลปะหรือไม่ ซึ่งเมื่อประมวลดูแล้วสามารถแยกพิจารณาเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

ปี กัสโซ ( Picasso ) ศิลปินเอกของโลกพูดถึงภาพถ่ายในผี พ.ศ. 2482 ว่า “เมื่อเราสามารถเห็นสิ่งที่เราปรารถนาจะแสดงออกในภาพถ่ายได้ นั่นแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า จิตรกรหมดภาระแล้ว” แม้คำพูดของปีกัสโซจะไม่เป็นจริงทั้งหมด เพราะทุกวันนี้ภาพเขียนก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ แต่คำพูดของปีกัสโซมีความสำคัญในแง่ที่ว่า แม้ศิลปินเอกอย่างปีกัสโซยังมองเห็นศิลปะในภาพถ่ายและให้ความสำคัญ แก่ภาพถ่าย จึงไม่น่ามีข้อกังขาว่าภาพถ่ายจะเป็นศิลปะหรือไม่อีกต่อไป

ส่วน ในเรื่องชีวิตและวิญญาณของภาพถ่ายนั้น ก็คือ เรื่องราวหรือเนี้อหาที่ผู้ถ่ายภาพจะต้องบรรจุในภาพถ่าย ผู้ถ่ายภาพจะต้องได้รับแรงบันดาลใจจากสังคมและสิ่งแวดล้อมก่อนแล้วจึงถ่าย ทอดสิ่งนั้นลงบนภาพถ่ายอีกที จึงกล่าวได้ว่า ผู้ถ่ายภาพคือศิลปินที่สร้างความสมจริงชีวิตและวิญญาณให้แก่ภาพถ่าย ภาพถ่ายจึงมิใช่เพียงรายงานความเป็นไปอย่างตรงไปตรงมาหากแต่ได้สอดแทรกความ คิด อารมณ์ ความรู้สึกของผู้ถ่ายภาพอย่างมีศิลปะและสอดคล้องกับสภาพสังคม เพื่อเป็นการชี้แนะปัญหา เสนอแนะสิ่งที่ดีงามและเพื่อยกระดับชีวิตของมวลมนุษย์ ฉะนั้นภาพถ่ายย่อมสมควรได้รัยการยกย่องว่าเป็นงานศิลปะ และผู้ถ่ายภาพก็คือศิลปิน



ธรรมชาติของภาพถ่าย
โดยทั่วไปภาพถ่ายมีลักษณะเป็นภาพนิ่ง ซึ่งอาจจะใช้ในการแสดงการเคลื่อนไหวของวัตถุในรูปของภาพนิ่งได้ ธรรมชาติจองภาพถ่ายอาจจะกล่าวได้สามลักษณะคือ

1. ธรรมชาติภาพถ่ายทางกายภาพ สามารถแบ่งทางกายภาพเป็นสี่ลักษณะคือ
1.1.ภาพถ่าย ให้ภาพแสง และเงาตรงตามความเป็น
1.2.ภาพถ่ายให้ภาพสีตรงตามความเป็นจริง
1.3.ภาพถ่ายแสงและเงาตรงข้ามความเป็นจริง
1.4.ภาพถ่ายให้สีตรงข้ามความเป็นจริง

2. ธรรมชาติศิลปะจากภาพถ่าย คือการใช้ภาพถ่ายในการถ่ายทอด ความรู้สึก อารมณ์ ค่านิยมในลักษณะต่างๆ กัน โดยเราสามารถแบ่งธรรมชาติของภาพถ่ายทางศิลปะได้ดังนี้
2.1 ศิลปะการถ่ายภาพ
2.2 ศิลปะภาพถ่ายจากการล้างอัดขยายภาพ
2.3 ศิลปะภาพถ่ายจากการทำภาพเทคนิค

3. ธรรมชาติของภาพถ่ายกับการสื่อสาร
3.1 ภาพถ่ายเป็นภาพนิ่ง
3.2 ภาพถ่ายสามารถถ่ายทอดประสบการณ์จริง
3.3 ภาพถ่ายสามารถสื่อสารได้ด้วยตัวเอง
3.4 ภาพถ่ายสามารถแพร่กระจายได้สะดวกและรวดเร็ว



ความสำคัญของภาพถ่าย
ภาพถ่ายมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของประชากรในสังคมอย่างยิ่ง เพราะสามารถใช้เป็นเครื่องมือการสื่อสารในกิจการต่าง ๆ เช่น ศิลปะการศึกษา การทหาร การแพทย์ ระบบสารสนเทศ การประชาสัมพันธ์และการโฆษณาสินค้า เพื่อแสดงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดังจะเห็นได้จากสุภาษิตจีนบทหนึ่ง กล่าว “ภาพเพียงภาพเดียวดีกว่าคำพูดพันคำ “ ซึ่งหมายถึงการสื่อสารด้วยการบรรยายลักษณะคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยคำพูดหรือวัจนภาษา สัก 1,000 คำ ก็ไม่สามารถทำให้ผู้รับสารมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดอารมณ์และความรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้น ดีเท่ากับการใช้ภาพถ่ายเป็นสื่อระบบการสื่อสาร เพียงภาพเดียว

ภาพถ่ายเป็นสื่อที่ใช้ในการกำหนดความรู้ ทัศนคติ อารมณ์ และประสบการณ์ระหว่างบุคคล และกลุ่มคนได้หลายรูปแบบดังนี้

1. การใช้ภาพในการเผยแพร่ความรู้ ทัศนคติ อารมณ์ และประสบการณ์โดยตรงศิลปินได้ใช้ภาพเป็นการถ่ายทอดอารมณ์ ความคิด ทัศนคติ ได้ดีกว่าการบรรยายด้วยคำพูด จึงมีศิลปินจำนวนมากใช้ภาพถ่ายเป็นสื่อในการถ่ายทอดศิลปะ

2. การใช้ภาพถ่ายเพื่อเผยแพร่ความรู้ ทัศนคติ อารมณ์ และประสบการณ์โดยตรง ในระบบการศึกษา ภาพถ่ายมีบทบาทสำคัญมากในระบบการศึกษาในการเรียนการสอน เช่นการใช้ภาพถ่ายประกอบในหนังสือเรียนให้ผู้ศึกษาได้มีโอกาสเข้าใจเนื้อหา สาระในบทเรียนดีขึ้น การนำภาพถ่ายจัดทำในรูปของแผนภูมิขนาดใหญ่เพื่อใช้สอนผู้เรียนกลุ่มใหญ่ ๆ ได้อย่างดี การเผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป ภาพถ่ายมีบทบาทสำคัญมากในการให้ความรู้ ความคิด ทัศนคติและประสบการณ์แก่ผู้พบเห็นภาพถ่าย

3. กิจกรรมทหารและความปลอดภัยของบุคคลและของชาติ การถ่ายภาพให้ประโยชน์หลายประการ เช่น การถ่ายภาพทางอากาศเพื่อหาข่าวและแหล่งข้อมูลทางการทหารและความปลอดภัย ในปัจจุบันการถ่ายภาพจากดาวเทียมมีบทบาทอย่างสูงในการหาข้อมูลข่าว ในกิจการทหารและการรักษาความปบอดภัยของประเทศ ในด้านความปลอดภัยส่วนบุคคล ในการเดินทางระหว่างประเทศจะต้องมีภาพติดในหนังสือเดินทางเพื่อความปลอดภัย ของยานพาหนะและผู้โดยสาร ในเครื่องบินหรือพาหนะอื่น ๆ แม้แต่รถโดยสารประจำทางปรับอากาศที่วิ่งระหว่างจังหวัดในเส้นทางที่น่าจะมี การโจรกรรมหรืออันตราย จะมีเจ้าหน้าที่มาถ่ายภาพเพื่อความปลิดภัยของผู้โดยสาร และยานพาหนะด้วย

4. บทบาทที่สำคัญของภาพถ่ายในกิจการทางการแพทย์ ภาพถ่ายมีความหมายเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีลักษณะพิเศษสิ่งหนึ่งคือ การถ่ายภาพด้วยการอาศัยการแพร่กระจายรับสีทำปฏิกิริยากับพื้นผิววัตถุซึ่ง กล่าวไว้ในพจนานุกรรมเวบเตอร์นั้น ได้ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ในรูปของการถ่ายภาพด้วยรังสีเอ็กซ์(X-Ray) ซึ่งเป็นการถ่ายภาพผ่ายวัตถุบางชนิดที่รังสีเอ็กซ์สามารถผ่านได้ และทำให้เกิดภาพสีและเงาตรงข้ามในส่วนที่รังสีเอ็กซ์แพร่กระจายผ่านไม่ได้ จึงเกิดภาพที่มีสีและเงาตรงข้ามบนฟิล์มที่เราจักกันดี ในชื่อของฟิล์มเอ็กซ์-เรย์ (Film X-Ray ) ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ของภาพถ่ายด้วยฟิล์มเอ็กซ์-เรย์ในวงการแพทย์ได้ อย่างมหาศาลเพื่อการวินิจฉัยโรคบางชนิดภายในร่างกายคนซึ่งไม่สามารถมองเห็น ได้ด้วยตาเปล่า แต่สามารถถ่ายเป็นภาพมาให้เห็นได้ ทำให้แพทย์สามารช่วยเหลือชีวิตมนุษย์นับล้าน ๆ คนจากประโยชน์ของการใช้ภาพถ่ายระบบนี้และภาพถ่ายที่สามารถถ่ายภาพคนไข้ก่อน รักษาและหลังรักษาทาง Medical illustration ทางการแพทย์อื่น ๆ

5. ภาพถ่ายมีความสำคัญต่อระบบสารสนเทศ นับตั้งแต่ข้อมูลของโลกจนถึงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การถ่ายภาพของบุคคลตั้งแต่เกิดจนกระทั้งแก่ ภาพเหล่านั้นจะเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของบุคคลนั้น ๆ ที่สามรถจะค้นหามาถ่ายทอดเรื่องราวในอดีต ปัจจุบัน แม้แต่ในอนาคตการผลิตภาพถ่ายสามารถใช้เทคนิคพิเศษ ทำให้เกิดภาพอนาคตในจินตนาการของผู้ถ่ายภาพได้ ในการเก็บข้อมูลของระบบสารสนเทศนั้นภาพถ่ายสามารถจะถ่ายทอดเรื่องราวทัศนคติ และความรู้ให้แก่ผู้สนใจจะค้นคว้าได้อย่างดี และในกระบวนการถ่ายทอดหรือสื่อสารเราถือว่าภาพถ่าย ให้ความชัดเจนของการเล่าเรื่องราวเท่าการบรรยายด้วยคำพูด

6. ในการประชาสัมพันธ์ ภาพถ่ายมีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ด้วยการใช้สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อวิทยุโทรทัศน์

7. ภาพถ่ายกับการโฆษณาสินค้า การถ่ายภาพมีบทบาทสำคัญกับการโฆษณาสินค้า ตั้งแต่การโฆษณาขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่

ความสำคัญของภาพยังสามารถสร้างความเชื่อถือ ได้ดีกว่าภาพในรูปแบบอื่น การใช้ภาพถ่ายประกอบการพิจารณาคดีในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้พิพากษาได้เห็นสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์นั้นได้ดียิ่งขึ้น หรือการใช้ภาพถ่ายในการโฆษณาชักชวนเพื่อหาเสียงเลือกตั้งบุคคลเป็นผู้แทน เพื่อกิจการต่าง ๆ รวมถึงการใช้ภาพถ่ายอื่นทำตุการณ์ ประวัติความเป็นมาต่าง ๆ ของบุคคล ทำให้การบันทึกความทรงจำมีความเป็นรูปธรรมสูงกว่าการจดบันทึกด้วยอักษร ปัจจุบันภาพถ่ายสีธรรมชาติมีอิทธิพลสูงมากในการถ่ายทอดความคิดทัศนคติ และสร้างภาพพจน์ ได้ใกล้เคียงสถานการณ์จริง

credit
http://www.chanpradit.ac.th/~mano/itsadakorn%206-3%20-24/124.htm

ความคิดเห็น